ประวัติโรงเรียน
เมื่อปี พ.ศ. 2386 โดยพระสังฆราชยัง บัปติสต์ บัลเลอกัวช์ มอบหมายให้ คุณพ่อ กรางค์ยัง และคุณพ่อวาชัล คณะสงฆ์มิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (M.E.P) เดินทางมาถึงเชียงใหม่เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2387 ในระยะแรกท่างทั้งสองได้รับการต้อนรับจากเจ้าเมืองเชียงใหม่ คือ พระยาพุทธวงค์ (เจ้าหลวงแผ่นดินเย็น) เป็นอย่างดี หลังจากนั้นไม่นาน เจ้าเมืองเริ่มมีท่าทีเปลี่ยนไป ทำให้คุณพ่อทั้งสองต้องล้มเลิกภารกิจในเขตภาคเหนืออีกครั้งในสมัยของท่านได้ ส่งธรรมฑูตขึ้นไปเชียงใหม่ถึงสองครั้ง โดยครั้งแรกมี คุณพ่อยัง บัปติสต์ ฟูยาต์ และคุณพ่อ ยอแซฟ บรัวชาต เดินทางไปสำรวจหาข้อมูล และได้รายงานสถานการณ์ในเชียงใหม่ว่ามีบรรยากาศที่ดีขึ้น และเอื้ออำนวยในการจัดตั้งศูนย์แพร่ธรรมเป็นอย่างยิ่ง แต่ภารกิจครั้งนี้ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากเกิดสงครามครั้งที่ 1 ท่านทั้งสองจึงถูกเรียกตัวกลับ
จนกระทั้งปี 2469 คุณพ่อยอร์ช มิราแบล พระสงฆ์ชาวฝรั่งเศษคณะมัสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (M.E.P) และคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง พระสงฆ์พื้นเมืองธรรมฑูตไทยคนแรก สัตบุรุษวัดนักบุญเปโตร (นครชัยศรี) อ.สามพราน จ.นครปฐม (ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นบุญราศีพระสงฆ์และมรณสักขี โดยพระสันตะปาปา จอห์นปอลที่ 2)
ธรรมฑูตทั้งสองได้รับมอบหมายงานอันยิ่งใหญ่จาก พระสังฆราชเรอเน มารี โยเซฟ แปร์รอส ให้เดินทางขึ้นไปประกาศศาสานาครสิต์นิกายโรมันคาทอลิกในดินแดนล้านนาตรงกับสมัยของ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 (PIUS XI) ธรรมฑูตทั้งสองมีวิสัยน์กว้างไกล และมองเห็นความสำคัญของการศึกษาตามแบบอย่างของชาวตะวันตก โดยท่านทั้งสองเดินทางมาถึงเชียงใหม่เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2475 ได้สำรวจพื้นที่และสังเกตเห็นการดำเนินงานของพี่น้องศาสนาครสิต์นิกายโปรแตสแตนท์ มิชชั่นนารีคณะอเมริกันเพรสไปทีเรียนที่ได้ประกาศศาสนาโดยการสอนพระคัมภีร์ควบคู่ไปกับการดำเนินการให้การศึกษาในเขตภาคเหนือ โดยระบุในตอนท้ายของรายงานว่า “ผู้ได้รับมอบหมายงานแพร่ธรรมรู้สึกชื่นชอบการเดินทางไปสำรวจข้อมูล และมีความเห็นว่าไม่ควรล่าช้าอีกต่อไป ในการทดลองประกาศพระวรสารทางเขตภาคเหนือ”
พระสังฆราชเรอเน แปร์รอส ได้นำรายงานฉบับนี้ไปมอบให้ พระสังฆราช เกย์ บริอังด์ ได้รับทราบ หลังจากที่พระสังฆราชได้อ่านรายงานของธรรมฑูตทั้งสองท่านมีความรู้สึกชื่นชมยินดี ในความมุ่งมั่นที่จะประกาศพระวรสารในภาคเหนือของประเทศสยาม นอกจากนั้นท่านยังได้ให้คำรับรองและสัญญาว่าจะให้การสนับสนุนด้านการเงิน ในการแพร่ธรรมครั้งนี้อย่างเต็มที่
เมื่อพระสังฆราชเรอเน มารี โยเซฟ แปร์รอส เดินทางกลับมาจาก ประเทศฝรั่งเศษ ท่านได้จัดซื้อที่ดินจจำนวน 2 แปลง จากหลวงอนุสารสุนทร (เดิมชื่อสุ่นฮี้ ชุติมา) และจากตระกูลเดอชูช่า (Desousa) ที่ดินของตระกูลเดอชูชา มีบ้านหลังใหญ่ สภาพดีจำนวน 2 หลัง ซึ่งติดกับแม่น้ำปิง โดยตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตัวเมืองจัดให้เป็นบ้นพักของคุณพ่อหลังหนึ่ง และอีกหลังหนึ่งเป็นบ้านพักของภคินีคณะพระหฤทัย แห่งกรุงเทพฯ ที่ดินสองแปลงนี้เนื้อที่รวมกัน 72 ไร่ ราคา 8,000 บาท ขณะรอการสนับสนุนที่คาดว่าจะได้รับในไม่ช้า พระสังฆราชเรอเน แปร์รอส จำเป็นต้องกู้ยืมเงินจำนวน 12,500 บาท เพื่อซื้อที่ดินทั้งสองแปลง และสร้างวัดขึ้นมาหลังหนึ่ง โดยให้ชื่อว่า “วัดพระหฤทัย” จากการออกเยี่ยมสัตบุรุษคุณพ่อยิ่งตระหนักถึงความจำเป็นและความสำคัญของการศึกษา
พระสังฆราชเรอเน แปร์รอส และคุณพ่อยอร์ช มิราแบล ได้เดินทางไปเยี่ยม ซิสเตอร์เบอร์นาร์ด มังแชล อธิการริณีโรงเรียนมาแตร์เดอีที่กรุงเทพฯ ท่านได้ชักชวนให้คณะอุร์สุลินมา เปิดโรงเรียนสำหรับนักเรียนหญิง ซึ่งซิสเตอร์เบอร์นาร์ด ได้เขียนจดหมายไปปรึกษาซิสเตอร์แชงต์จัง มาร์แดง มหาอธิการิณีเจ้าคณะที่กรุงโรม ได้รับการสนับสนุนและอนุมัติให้สร้างโรงเรียนได้
จากนั้นท่านได้ชักชวนคณะภราดาเชนต์คาเบรียลมาร่วมก่อตั้งโรงเรียนผู้ชายด้วย ทั้งนี้เพราะต้องการให้เมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการศึกษาอันทันสมัย ในขณะเดียวกันก็จะได้ดำเนินงานประกาศพระวรสารควบคู่กับกันไปด้วย ท่านได้จัดเตรียมความพร้อมในหลายๆ ด้าน อาทิ ด้านอาคารสถานที่ ด้านอุปกรณ์ การเรียน การสอน ด้านบุคลากร ด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในด้านการศึกษา และตระหนักถึงความเท่าเทียมกันของเด็กและเยาวชนที่นับถือศาสนาคริสต์ที่กำหร้าและมีฐานะยากจน ท่านเล็งเห็นว่าการศึกษาจะสามารถช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของชาวบ้าน โดยเฉพาะบุตรหลานของสัตบุรุษให้ดีขึ้น
ดังนั้น คุณพ่อยอร์ช มิราแบล และคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง จึงได้ก่อตั้งโรงเรียนของวัดขึ้นมาอีกแห่งหนึ่ง เพื่อเปิดรับทั้งเด็กชาย และเด็กหญิง โรงเรียนแห่งนี้ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนพระหฤทัย” มีชื่อภาษาอังกฤษว่า “SACRED HEART COLLEGE” ซึ่งหมายถึง ดวงพระหฤทัยอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระเยซูเจ้า ซึ่งเปี่ยมไปด้วยความรัก และเป็นชื่อเดียวกันกับโบสถ์อีกด้วย โดยมี พระสังฆราชเรอเน แปร์รอสเป็นผู้รับใบอนุญาต มีคุณพ่ออยร์ช มิราแบล เป็นครูใหญ่คนแรก คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เป็นผู้ช่วยครูผู้สอน ครูผู้ช่วยสอนคือ ซิสเตอร์คณะพระหฤทัยแห่งกรุงเทพฯ จำนวน 2 ท่าน ซึ่งได้รับมอบหมายจากคุณแม่เชราฟิน เดอ มารี ให้ติดตามธรรมฑูตในการดำเนินงานในดินแดนล้านนา ตั้งแต่ พ.ศ. 2473 คือ ซิสเตอร์เวโรนีกา รัตนกิจ และซิสเตอร์เอเฟรม กาดา เป็นครูผู้สอนนักเรียนหญิง โดยมีซิสเตอร์อัลเดอลิน เป็นผู้ช่วย ส่วนครูชาย คือ คริสตชนที่ลาออกจากบ้านเณรของคณะพื้นเมืองมาช่วยสอนเด็กนักเรียนชายแต่เนื่องจากททางวัดและโรงเรียนยังยากจนไม่มีเงินที่จะใช้ในการดำเนินการ อาทิ การว่าจ้างครูที่มีความรู้มาสอน การเก็บค่าเล่าเรียนจากนักเรียน แม้จะจัดเก็บเพียงเดือนละห้าสิบสตางค์ก็ยังไม่สามารถจัดเก็บได้หมด ทั้งนี้เพราะเด็กกำพร้าจะได้รับการยกเว้นการเก็บค่าเล่าเรียน และพ่อแม่ของนักเรียนส่วนใหญ่มีฐานนะยากจน ดังนั้นวัดและโรงเรียนจึงรับอุปการะและรับภาระในเรื่องค่าใช้จ่ายของเด็กๆ เหล่านี้ทั้งหมด
โรงเรียนทั้ง 3 แห่งเปิดให้มีการเรียนการสอนพร้อมกันในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2475 ซึ่งโรงเรียนพระหฤทัยได้รับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม 2475 ในระยะเริ่มแรกมีนักเรียนรวมกัน จำนวน 322 คน แบ่งเป็นนักเรียนโรงเรียนเรยีนานำนวน 96 คน โรงเรียนพระหฤทัย จำนวน 145 คน แบ่งออกเป็น 2 แผนกด้วยกัน คือ แผนกนักเรียนชาย จำนวน 35 คน แผนกนักเรียนหญิง จำนวน 110 คน และนักเรียนโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จำนวน 81 คน
เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2484 คณะภคินีพระหฤทัยแห่งกรุงเทพฯ ได้แต่งตั้ง ซิสเตอร์ส่าหรี เงินเล็ก มาดำรงตำแหน่งผู้จัดการ โดยมีคุณพ่อคนไทย คือ คุณพ่อบุญชู ระงับพิศน์ ซิสเตอร์ส่าหรี เงินเล็ก เป็นผู้ที่มีความเด็ดเดี่ยว และอดทนเป็นอย่างมาก ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจโดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยเพื่อประคับประคองโรงเรียนให้อยู่รอด การทำงานหนักอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ยากลำบากจึเป็นสาเหตึให้สุขภาพร่างกายของท่านทรุดโทรม ซิสเตอร์ต้องเดินทางไปพบแพทย์บ่อยครั้ง ในที่สุดคณะจึงได้มอบหมายงานที่โรงเรียนพระหฤทัยใก้แก่ ซิสเตอร์โกทิลดา ศรีประยูร และซิสเตอร์ประภา เงินเล็ก เข้ามารับภาระหนักนี้แทน
ต่อมาไม่นานคุณพ่อบุญชู ระงับพิศน์ ได้ย้ายไปประจำที่จังหวัดจันทบุรี จึงได้แต่งตั้ง ซิสเตอร์ประภา เงินเล็ก เป็นผู้จัดการของโรงเรียนแทนในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 ปลายปีเดี่ยวกันนี้เอง
พระสังฆราชเรอเน แปร์รอส จัดให้มีการเลือกตั้งอธิการิณีสูงสุดของคณะพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ ขึ้นเป็นครั้งแรกโดย คุณแม่เอลีซาแบ็ธธานี บุญคั้น เป็นอธิการิณีสูงสุดของคณะซิสเตอร์ประภา เงินเล็ก อยู่ทำงานจบครบวาระ 2 ปี ทางคณะจึงได้ส่ง ซิสเตอร์รัตก้อง นิตโย มาดำรงตำแหน่งผู้จัดการโรงเรียนแทน และมีซิสเตอร์พิกุล โรจน์รัตน์ เป็นผู้ช่วย
ต่อมาในปี พ.ศ.2488 ได้มีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งครูใหญ่อีกครั้ง โดยให้มาสเตอร์สุนทร ชุมพานิช เป็นฆารวาสคนไทยดำรงตำแหน่งแทน และในปี พ.ศ. 2489 ได้แต่งตั้ง มาสเตอร์สาสน์ สว่างงาม สัตบุรุษวัดพระหฤทัยดำรงตำแหน่งผู้แทนผู้รับใบอนุญาติ
หลังจากปี พ.ศ.2495-พ.ศ.2508 มีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ ครูใหญ่ และซิสเตอร์ผู้ช่วยจำนวนหลายท่าน อาทิ ซิสเตอร์ธีรา มากสกุล ซิสเตอร์สุวรรณี เจียจวบศิลป์ ซิสเตอร์วราภรณ์ บรรจง ซิสเตอร์ชาร์ล พูนโภคผล ซิสเตอร์วันทา ไชยยางค์ ซิสเตอร์เพ็ญประภา วาปิโส ซิสเตอร์ดารี บุญคั้นผล ซิสเตอร์ประไพ มาลีวงศ์ ซิสเตอร์ลำไย กิจสำเร็จ ซิสเตอร์แชล์ม แซ่ตั้ง ซิสเตอร์เออลาลี อานามนารถ ซิสเตอร์สำเนียง วาปีกัง และซิสเตอร์ประพันธ์ สุจิตรานนท์ สำหรับพระสงฆ์ที่เข้ามาพัฒนาโรงเรียนพระหฤทัยในนามคณะ M.E.P. เป็นคนสุดท้ายที่จะมีการเปลี่ยนคณะบริหารโรงเรียนเป็นคณะเบธาราม คือ คุณพ่อหลุย แบร์ คุณพ่อให้ความสนใจกิจการของโรงเรียนเป็นอย่างมาก และพยายามทุ่มเทกำลังกาย ใจ ในการพัฒนาโรงเรียน โดยจัดกสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่ 2 หลัง พร้อมทั้งได้เปิดหอพักนักเรียนอยู่ประจำและได้ดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ด้วยน้ำพระทัยของพระเยซูเจ้า ได้ทรงนำให้คุณพ่อมิราแบล มาบุกเบิกมิสซังเชียงใหม่ได้ เพียง 2 ปี ท่านได้ย้ายไปเข้าคณะฤาษี Carhusians ตามความตั้งใจเดิมที่ท่านเคยขออนุญาตกับผู้ใหญ่ คุณพ่อมิราแบล จึงได้แต่งตั้งให้ มาสเตอร์จันตา มโนวงค์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทนและทำหน้าที่เป็นครูผู้สอนไปด้วย จากนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่อีกหลายท่าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นซิสเตอร์ของคณะพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้าหรือฆราวาสที่เป็นคนไทย ทุกท่านล้วนเป็นกำลังสำคัญในการร่วมกันพัฒนาโรงเรียนให้เจริญก้าวหน้า โรงเรียนพระหฤทัยได้เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นมูล (อนุบาล) ถึงชั้นมัธยม มีนักเรียน ชาย-หญิง รามกันประมาณ 200 คน การวัดผลของโรงเรียนเอกชนในสมัยนั้นนักเรียนที่จะทำการสอบไล่ โดยเฉพาะชั้นประโยค(ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3) ได้สอบเข้าร่วมกับโรงเรียนประชาบาลวัดศรีดอนไชยเป็นประจำทุกปี และนักเรียนโรงเรียนพระหฤทัยก็ประสบความสำเร็จ โดยสามารถทำคะแนนได้สูงสุดในการสอบทุกครั้ง ในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2479 พระสังฆราชเรอเน มารี โยแซฟ แปร์รอส ได้แต่งตั้ง คุณพ่อเรอเน เมอร์นีเอร์ ซึ่งเป็นมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสมาดำรงตำแหน่งผู้จัดการโรงเรียนเป็นระยะเวลา 4 ปี ในช่วงนี้มีคุณพ่อทั้งชาวไทยและชาวฝรั่งเศส มาช่วยงานเป็นระยะเวลาสั้น ๆ หลายท่าน คือ คุณพ่อวินเชนเต วรงค์ สุขพัฒน์ คุณพ่ออาทานาส วิสุจิตร คุณพ่อโอลีเอร์ คุณพ่อมีแชล มงคล ประคองจิตร (พระสังฆราชมิสชังท่าแร่) คุณพ่อยอลี คุณพ่อมานิตย์ คุณพ่อสงวน คุณพ่อบุญชู คุณพ่อโรเชอโร คุณพ่อเมารีส คุณพ่อกิมอั้ง คุณพ่อเศียร คุณพ่อทองดี คุณพ่อวิลเลี่ยม คุณพ่อถาวร คุณพ่อยือแบง คุณพ่อแวร์ดีแอร์ คุณพ่อเปรดาญ คุณพ่อมอริส การ์ตอง คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (M.E.P) ได้มารับตำแหน่งเป็นผู้จัดการโรงเรียนพระหฤทัยลำดับที่ 3 โดยมี ซิสเตอร์เวโรนีกา รัตนกิจ เป็นอธิการ และ ซิสเตอร์เอเฟรม กาดา เป็นผู้ช่วย ในปีการศึกษา 2482 ซิสเตอร์อันเดรดา สุนทรวิภาค เป็นอธิการ มี ซิสเตอร์มาทิลดา เงินเล็ก และซิสเตอร์ราฟาแอล ผังรักษ์ เป็นผู้ช่วย
ในปี พ.ศ. 2497 คุณพ่อหลุยส์ แบร์ ได้รับคำสั่งให้ย้ายไปอยู่จังหวัดนครราชสีมา พระสังฆราช หลุยส์ โซแรง แห่งสังฆมณฑลกรุงเทพ จึงได้มอบหมายให้พระสังฆราชลูเซียน ลากาสต์ ที่ลี้ภัยทางการเมืองจากประเทศจีนรับผิดชอบดูแล และทำงานแพร่ธรรมในภาคเหนือของประเทศไทย หลังจากนั้นไม่นานสมเด็จพระสันตะปาปา ได้ทรงแต่งตั้งท่านให้เป็นประมุของค์แรกของมิสซังเชียงใหม่ ในวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 ท่านได้น้อมรับภารกิจหน้าที่นี้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
พระสังฆราชลูเซียน ลากอสต์เป็นชาวฝรั่งเศสผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมเป็นอย่างมาก ในที่สุดรัฐบาลฝรั่งเศสจำได้มอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูง (O’offier de L’Ordre National Du Merite) ให้เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ต่อมาพระสังฆราชหลุยส์ โชแรง ได้มอบงานแพร่ธรรมทั้งหมดในเขตภาคเหนือ รวมทั้งโรงเรียนพระหฤทัยให้อยู่ในการดูแลของคณะสงฆ์เบธรามที่ลี้ภัยการเมืองมาจากมณฑลยูนานโดยมี พระสังฆราชลูเซียน ลากอสต์เป็นผู้รับผิดชอบดูแล นับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญด้านบุคลากรในงานแพร่ธรรม
สำหรับงานบริหารโรงเรียนพระหฤทัย คุณพ่อนชาวเวอร์ ลองไดช์ เป็นพระสงฆ์องค์แรกของคณะเบธารามที่เป็นเจ้าอาวาสวัดพระหฤทัย และมี คุณพ่อเปเด บิโด เป็นผู้ช่วย ท่านทั้งสองได้ปรึกษากันเกี่ยวกับงานแพร่ธรรมและการบริหารงานของคณะเบธารามในการดำเนินงานต่อจากคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (M.E.P.) ซึ่งคุณพ่อลองไดช์มีความเข้าใจในเบื้องต้นว่านักเรียนพระหฤทัยทั้งชายและหญิงเมื่อศึกษาจนจบชั้นประถม ถ้าเป็นเด็กชายจะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ส่วนเด็กหญิงจะเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย แต่เนื่องจากโรงเรียนทั้งสองแห่งต้องมีค่าใช้จ่ายในการศึกษาค่อนข้างสูงจึงทำให้ไม่มีโอกาสได้ศึกษาต่อ คุณพ่อลองไดช์นำปัญหาที่เกิดขึ้นเข้าปรึกษากับพระสังฆราชลากอสต์ และพระสงฆ์ของคณะเบธาราม จนได้ข้อสรุปว่า โรงเรียนพระหฤทัยมีความจำเป็นจะต้องขยายอาคารเรียน เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ชึ่งจะต้องใช้งบประมาณในการดำเนินการก่อสร้างประมาณ 200,000 บาท แต่โรงเรียนยังขาดงบประมาณในการก่อสร้าง ดังนั้น พระสังฆราช ลากอสต์ จึงประชุมปรึกษาคุณพ่อทั้งหมดของคณะโดยได้กล่าวไว้ว่า “ขอให้คุณพ่อของคณะเสียสละเงินที่ได้รับจากครอบครัว หรือเงินจากผู้มีจิตศรัทธาช่วยเหลือในงานแพร่ธรรมของวัดต่างๆ ให้นำเงินนั้นมารเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโรงเรียนพระหฤทัยไปก่อน” ซึ่งคุณพ่อทุกท่านต่างก็เห็นด้วย ในที่สุด คุณพ่อลองไดช์ ก็ดำเนินการก่อสร้างอาคารเซนต์โยเซฟ ซึ่งเป็นอาคารเรียน 2 ชั้น มี 8 ห้องเรียน กระทั่งอาคารแล้วเสร็จและเปิดใช้ในปีการศึกษาถัดมา เนื่องจากคุณพ่อชาเวอร์ ลองไดช์ มีประสบการณ์ในการทำงานในประเทศจีนท่านสามารถพูดภาษาจีนได้อย่างคล่องแคล่ว อีกทั้งยังเป็นผู้มีอัธยาศัยไมตรีดี มีความเอาใจใส่ต่อสัตบุรุษและผู้ปกครองของนักเรียน ยามว่างท่านมักจะปั่นรถจักยานไปเยี่ยมผู้ปกครองและนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ ยิ่งถ้าเป็นผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นชาวจีนท่านก็จะสนทนาด้วยภาษาจีนอย่างสนุกสนาน ยังผลให้โรงเรียนพระหฤทัยมีพ่อค้าคหบดีชาวจีนนิยมนำบุตรหลานมาเข้าเรียนในโรงเรียนพระหฤทัยเป็นจำนวนมาก
ในปี พ.ศ.2504 ได้มีการก่อสร้างอาคารเรียนเรือนไม้อีกหลัง เป็นอาคาร 2 ชั้นที่สวยงาม ใช้ชื่อว่าอาคารเชนต์โรส เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียน ในอีก 2 ปี ต่อมามีการสร้างอาคารมิราแบล เพิ่มขึ้นอีก 1 หลัง เพื่อใช้เป็นห้องสมุด และห้องวิทยาศาสตร์ทันสมัยในยุคนั้น พร้อมกับได้สร้างวัดพระหฤทัยหลังใหม่ขึ้นใกล้ๆ กับวัดหลังเดิม และมีพิธีเสกอย่างสง่าในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2508 โดยพระสังฆราชลูเซียน ลากอสต์ การบริหารพัฒนาโรงเรียนที่ผ่านมา ทั้งด้านอาคารสถานที่ที่ได้มาตรฐานและด้านบุคลากรครูที่มีประสิทธิภาพยังผลให้นักเรียนโรงเรียนพระหฤทัยเป็นนักเรียนผู้มีความเป็นเลิศในทุกๆ ด้าน กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศรับรองวิทยฐานะให้แก่โรงเรียนพระหฤทัย เทียบเท่ามาตรฐานของโรงเรียนรัฐบาล เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2508 ต่อมาคุณพ่อปีเตอร์ ชัลลา ได้เข้ามารับต่ำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระหฤทัย มีคุณพ่อไรมอนโด แปร์ลินี เป็นผู้ช่วย คุณครูบุญชู วิจิตรพร เป็นผู้แทนรับใบอนุญาต ในสมัยนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ คือ อาคารเชนต์แมรี่ จำนวน 3 ชั้น สร้างโรงอาหาร หอประชุม และสนามบาสเกตบอลเพื่อให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้น
ในปี พ.ศ.2509-2515 มีซิสเตอร์คณะพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพ เข้ามาช่วยงานโรงเรียนอีกหลายท่าน ได้แก่ ซิสเตอร์สม ผลปรีชา ซิสเตอร์กฤษณา หอมสุคนธ์ ซิสเตอร์เฉลิมศรี กฤษสงวน ซิสเตอร์เสถียร ไชยศรีมา ซิสเตอร์เช็งชิม รุจิพงษ์ ซิสเตอร์บุญชิด อินทปัทม์ ซิสเตอร์จรูญ สำราญชื่น สำหรับ คุณพ่อมีร์โก ตรูสนัก มารับหน้าที่ต่อมาจาก คุณปีเตอร์ ชัลลัง ปี พ.ศ.2515-2521 ทางโรงเรียนได้ต้องรับผู้บริหารอีก 3 ท่าน คือ ซิสเตอร์อุทัยวรรณ คุโรวาท ซิสเตอร์พยุง แก้วมังกร ซิสเตอร์สาลี่ ดำริ โดยมี ซิสเตอร์สุพรรณี แย้มกรรณ ซิสเตอร์สมใจ สิงห์สา ซิสเตอร์สุกัญญา สุขชัย และซิสเตอร์มาเรีย สุนทรวิภาค เป็นผู้ช่วยซึ่งทุกท่านล้วนเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาโรงเรียนให้เจริญก้าวหน้าในทุกด้าน
ในปี พ.ศ.2518 พระสังฆราชลูเซียน ลากอสต์ ได้ขอลาออกจากต่ำแหน่งเนื่องจากเกษียณอายุ สมเด็จพระสันตะปาปาจึงแต่งตั้ง พระสังฆราชโรเบิร์ต รัตน์บำรุงตระกูล ย้ายมาเป็นพระสังฆราชสังฆมณฑลเชียงใหม่ ในช่วงนี้สังฆมณฑลเชียงใหม่ได้มีพระสงฆ์จากสังฆมณฑลราชบุรีเข้ามาช่วย จำนวนหลายท่าน อาทิ คุณพ่อวิโรจน์ อินทรสุขสันต์ คุณพ่อวิชัย แสนสุดสวาท คุณพ่อชุนเฮง ก๊กเครือและซิสเตอร์ที่มาร่วมงานคือ ซิสเตอร์อัญชลี สมแสงสรวง ซิสเตอร์อ้อยทิพย์ กรัดอังกรู ซิสเตอร์วราภรณ์ ธิราศักด์ และซิสเตอร์สุรีย์ มั่นใจ
ปลายปี พ.ศ. 2523 มีการสร้าง อาคารพระหฤทัย เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น ก่อสร้างจำนวนสี่แสนบาท ควบคุมการก่อสร้าง โดยคุณพ่อไรมอนโด แปร์ลินี อาคารพระหฤทัยเปิดใช้เป็นห้องเรียน ห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ ห้องดนตรี ห้องสมุด และห้องวิชาการ
ต่อมาในปีเดียวกันโรงเรียนได้สร้าง อาคารพระกุมารเยซูเป็นตึกคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 2 ชั้น ใช้เป็นห้องเรียนของแผนกอนุบาล เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 โรงเรียนได้จัดพิธีเปิดป้ายอาคารเรียนหลังใหม่ในวันฉลองสุวรรณสมโภช 50 ปี การก่อตั้งโรงเรียนพระหฤทัย ซึ่งมี คุณพ่อวิโรจน์ อินทรสุขสันต์ เป็นผู้แทนผู้รับใบอนุญาต ซิสเตอร์สุวรรณ ประราศี เป็นผู้จัดการครูใหญ่ โดยมี ซิสเตอร์อัญชลี สมแสงสรวง ซิสเตอร์อ้อยทิพย์ กรัดอังกรู และซิสเตอร์ศรีกัลยา เดื่อมคั้น เป็นผู้ช่วย
จากนั้นในปี พ.ศ. 2525-2528 ซิสเตอร์สมศรี กิจพิทักษ์ และซิสเตอร์สมพร กตัญญู ได้เข้ามาบริหารดำรงตำแหน่งผู้จัดการครูใหญ่ โดยมี ซิสเตอร์ชมเพลิน เจสิกทัด ซิสเตอร์สายพิรุณ ไทยแก้วรอด ซิสเตอร์อรัญญา กิจบุญชู และซิสเตอร์มาลินี กริชไพทูรย์ เป็นผู้ช่วย ทุกท่านมีความมุ่งมั่นพยายามที่จะพัฒนาโรงเรียนทั้งด้านอาคารสถานที่ด้านวิชาการ และด้านระเบียบวินัย
โรงเรียนพระหฤทัยเปิดทำการสอนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 จนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนตน้น ตลอดเวลาที่ผ่านมาโรงเรียนได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้าเรียนเป็นจำนวนมาก ดังนั้นในปี พ.ศ. 2542 ทางโรงเรียนได้สร้างอาคารเรียนยอแซฟ และอาคารพระหฤทัยขึ้น เพื่อเปิดทำการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นรุ่นแรกจำนวน 4 ห้องเรียน แบ่ง เป็น 3 แผนการเรียนคือ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์, แผนการเรียนภาษาอังกฤษ – คณิตศาสตร์ และ แผนการเรียนภาษาอังกฤษ – ภาษาฝรั่งเศส
จากการพัฒนาโรงเรียนอย่างไม่หยุดยั้ง ส่งผลให้โรงเรียนพระหฤทัย ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานสากล ISO 9002 จากบริษัท Bureau Veritas Quality International เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2542 นับเป็นโรงเรียนเอกชนแห่งแรกในจังหวัดเชียงใหม่ และของเขตการศึกษา 8 ที่ได้รับการประกันคุณภาพ การบริหารการศึกษาที่เป็นมารตรฐานสากลทั้งองค์กรตามระบบ ISO 9002 เป็นเหตุให้มีบุคคลสำคัญมาเยี่ยมชม เป็นเหตุให้มีบุคคลสำคัญมาเยี่ยมชมการเรียนการสอนของโรงเรียนคือ มร.เดวิด มัททาย เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย รวมถึงหน่วยงานองค์กรทางการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนได้ให้ความสนใจของเข้าศึกษาดูงานของโรงเรียนกันเป็นจำนวนมาก นับว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่งของโรงเรียนพระหฤทัยการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ส่งผลให้โรงเรียนพระหฤทัยได้รับคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษาที่จัดกิจกรรมจริยธรรมยอดเยี่ยมประจำปีการศึกษา 2541 จากกลุ่มโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2542 โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเอกชนระดับก่อนประถมศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนตั้งแต่ปีการศึกษา 2542 – 2546 คณะผู้บริหาร คณะครูตลอดจนบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายยังคงร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาองค์กรต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งส่งผลให้โรงเรียนได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นขนาดกลาง จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศาลาดุสิดาลัย พระราชวังสวนจิตรลดา และกิจกรรมอันเป็นมหากุศลในปีการศึกษานี้ คือ การจัดละครบัลเล่ต์การกุศล “วิพิธทัศนามหาราชันย์” ในการนี้โรงเรียนได้รัยพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะผู้จัดงานละครบัลเล่ด์การกุศล “วิพิธทัศนามหาราชันย์” จากโรงเรียนพระหฤทัย เชียงใหม่ เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายเงินรายได้จำนวนหนึ่งล้านบาท โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย นับเป็นพระกรุณาล้นเกล้าล้นกระหม่อมแก่ชาวพระหฤทัยทุกคน ในปีการศึกษา
ในปี พ.ศ. 2544 คุณพ่อปิยะ โรจนะมารีวงศ์ ได้มาดำรงตำแหน่งผู้แทนผู้รับใบอนุญาตและคุณพ่อวีรวิทย์ สาสาย เป็นผู้ช่วย ส่วนผู้ที่มาดำรงตำแหน่งผู้จัดการ – ครูใหญ่คือ ซิสเตอร์ประสานศรี วงศ์สวัสดิ์ โดยมีซิสเตอร์กรรณิการ์ เอี่ยมไธสง และซิสเตอร์ประทุม สิงห์มัจฉา เป็นผู้ช่วยอภิบาล ซิสเตอร์วิชชุดา วิจิตรวงค์ ซิสเตอร์ ซิสเตอร์มาลี เอี่ยวคิริ และ ซิสเตอร์อนุวงค์ ประเสิรฐศรี เป็นผู้ช่วยฝ่ายโภชนาการ ซิสเตอร์สุนีย์ บุญช่วย ซิสเตอร์เพลินตา สุขชัย และ ซิสเตอร์พรพิมล วิธีธรรม เป็นผู้ช่วยฝ่ายพิธิกรรม ซึ่งคณะผู้บริหารและบุคลากรทุกฝ่ายได้ร่วมกันสร้างสรรค์พัฒนาโรงเรียนจนรุดหน้าเป็นลำดับ ส่งผลให้โรงเรียนพระหฤทัยได้รับรางวัลที่ 1 ของสถานศึกษาที่ได้รับผลสำเร็จในการพัฒนาจิตพิสัย จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และรางวัลสถานศึกษาต้นแบบ (MODERN SCHOOL NETWORK) ของกระทรวงศึกษาธิการ
ในปีการศึกษา 2547 คุณพ่อวุฒิเลิศ แห่ล้อม ได้มาดำรงตำแหน่งผู้แทนรับใบอนุญาต แทน คุณพ่อปิยะ โรจนะมารีวงค์ ที่ย้ายไปดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารโรงพยาบาลเซ็นต์หลุยส์ กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2549 – 2554 ซิสเตอร์ดรุณี ศรีประมงศ์ มาดำรงตำแหน่งผู้จัดการ – ครูใหญ่โดยมีซิสเตอ์ประทุม สิงห์มัจฉา ซิสเตอร์เพลินตา สุขชัย ซิสเตอร์อนุวงค์ ประเสริฐศรี ซิสเตอร์แสงอรุณ ธารีจิตร เป็นผู้ช่วย ส่วนคณะบาทหลวงมีคุณพ่อวุฒิเลิศ แห่ล้อม ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระหฤทัย พร้อมทั้งดำรงตำแหน่วอุปสังฆราช และเป็นผู้แทนผู้แทนรับใบอนุญาต มี คุณพ่ออนุพงค์ ดำรงอุษาศีล คุณพ่อโจเซปเป แบร์ตี้ คุณพ่อยูทากะ อากาเป้ เป็นผู้ช่วย ทุกฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนพระหฤทัย ต่างก็พร้อมที่จะทุ่มเทพลังกายและใจในการบริหารงานโรงเรียนโรงเรียนพระหฤทัยให้ก้าวหน้าเป็นที่ยอมรับแก่ชุมชนและสังคมย่างไม่หยุดยั้ง เหตุการณ์ที่สร้างความภาคภูมิใจและปลื้มปิติอีกเหตุการณ์หนึ่ง คือ นักเรียนโรงเรียนพระหฤทัย นางสาวกชกร สุวรรณชื่อ ได้สร้างชื่อเสียงเกียรติประวัติแก่จังหวัดเชียงใหม่และโรงเรียน โดยได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักเรียนรับรางวัลพระราชทานระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นขนาดใหญ่ ปีการศึกษา 2549 ประเภทนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขนาดใหญ่จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 พระสังฆราชยอแซฟ สังวาลย์ ศุระศรางค์ ประมุขสังฆมณฑล เชียงใหม่ ได้ขอลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากเกษียณอายุ สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 16 จึได้แต่งตั้งพระสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ ให้มาดำรงตำแหน่งประมุขสังฆมณฑลเชียงใหม่
โรงเรียนพระหฤทัยเปิดทำการสอนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 จนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตลอดเวลาที่ผ่านมาโรงเรียนได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้าเรียนเป็นจำนวนมาก ดังนั้นในปี พ.ศ.2542 ทางโรงเรียนได้สร้างอาคารเรียนยอแซฟ และอาคารพระหฤทัยขึ้น เพื่อเปิดทำการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นรุ่นแรกจำนวน 4 ห้องเรียน แบ่ง เป็น 3 แผนการเรียนคือ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์,แผนการเรียนภาษาอังกฤษ – คณิตศาสตร์ และ แผนการเรียนภาษาอังกฤษ – ภาษาฝรั่งเศส
ในปีการศึกษา 2555 คณะครูและนักเรียนโรงเรียนพระหฤทัยได้ให้การต้อนรับ คุณพ่อสุรสิทธิ์ ชุ่มศรีพันธุ์ ซึ่งมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสอาสนวิหารพระหฤทัยและเป็นผู้แทนรับใบอนุญาต แทนคุณพ่อวุฒิเลิศ แห่ล้อม ที่ย้ายไปดำรงตำแหน่งอุปสังฆราชอัครสังฆมณฑลกรุงเทพ และซิสเตอร์ ดร.สุรีย์พร ระดมกิจ มาดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการ – ผู้จัดการแทน ซิสเตอร์ดรุณี ศรีประมง ที่ครบวาระและไปศึกษาต่อต่างประเทศโดยมี ซิสเตอร์ศรีกัลยา เดื่อมคั้น ดำรงตำแหน่งอธิการและกรรมการที่ปรึกษาซิสเตอร์เพลินตา สุขชัย และ ซิสเตอร์รัชนก อุปพงศ์ดำรงตำแหน่งกรรมการที่ปรึกษา ซึ่งคณะผู้บริหารและทุกฝ่ายงานต่างก็พร้อมใจในการพัฒนาโรงเรียนพระหฤทัยให้ก้าวหน้าต่อไป โดยโรงเรียนพระหฤทัยได้เตรียมความพร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 คณะผู้บริหารจึงได้ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้เป็นหลักสูตร 3 ภาษา ประกอบด้วย ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่วนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเลือกเรียนตามแผนการเรียน เพื่อสนับสนุนการเปิดเป็นโรงเรียน 3 ภาษา ทางโรงเรียนจะจัดโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนใน 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซิแลนด์ และประเทศจีน แลกเปลี่ยน 2 เมือง คือ คุณหมิง และชีอาน นอกจากนั้นโรงเรียนยังได้ทำสัญญาร่วมกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) โดยนักเรียนที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.2 จะได้รับทุนการศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จำนวนปีละ 8 คน ด้านอาคารสถานที่ปรับสภาพแวดล้อมฝ่ายอนุบาลให้มีบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน อาทิเช่น ปรับปรุงห้องเรียน ห้องศูนย์สื่อ และสภาพแวดล้อมโดยรอบ เพื่อพัฒนาทักษะด้านต่างๆของนักเรียนให้เหมาะสมตามวัย และดำเนินการติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้กับนักเรียนในทุกห้องเรียน
ในปีการศึกษา 2559 คณะครูและนักเรียนโรงเรียนพระหฤทัยได้มีโอกาสต้อนรับ ซิสเตอร์ ดร.กาญจนา สิงห์สา มาดำรงตำแหน่งอธิการและผู้อำนวยการ-ผู้จัดการ แทน ซิสเตอร์ ดร.สุรีย์พร ระดมกิจ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาฝ่ายการศึกษาของคณะพระหฤทัย กรุงเทพมหานคร รวมทั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาที่เป็นนักบวชชาย-หญิง 5 ท่านและในปีการศึกษา 2560 คณะครูและนักเรียนโรงเรียนพระหฤทัยได้มีโอกาสต้อนรับ คุณพ่อประทีป กีรติพงษ์ ซึ่งมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสอาสนวิหารพระหฤทัย และเป็นผู้แทนผู้รับใบอนุญาตแทนคุณพ่อสุรสิทธิ์ ชุ่มศรีพันธุ์ ซึ่งได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระกุมารเยซู จังหวัดสมุทรปราการ ทั้งนี้คณะกรรมการบริหารได้ดำเนินการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระหฤทัยให้สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด และแนวทางการพัฒนาของแผนการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งได้นำโรงเรียนพระหฤทัยสู่การศึกษายุค 4.0 ได้แก่ การพัฒนาทั้งบุคลากรครูและบุคลากรนักเรียนไปพร้อมๆกัน โดยได้จัดทำโครงการ iPad เพื่อการจัดการเรียนรู้ ปี 2559-2561 โครงการพัฒนาครูสู่การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ด้วยภาษาและเทคโนโลยี ได้จัดทำห้อง Lab IT ห้องติวของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ปรับภูมิทัศน์ในส่วนของอาสนวิหารพระหฤทัย จัดทำห้องประชุม เป็นต้น
ที่ผ่านมา โรงเรียนพระหฤทัยได้ผ่านเหตุการณ์สำคัญต่างๆ มามากมาย คณะผู้บริหารทุกท่านตลอดจนบุคลากรทุกฝ่าย ต่างทุ่มเทแรงกาย แรงใจในการปฏิบัติหน้าที่ทั้งงานประกาศพระวาจาของพระเยซูคริสต์ และงานบริหารการศึกษาด้วยจิตวิญญาณแห่งความรักและรับใช้ ด้วยการอบรมศิษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่าอย่างไม่ย่อท้อจนทำให้โรงเรียนพระหฤทัยดำเนินกิจกรรมด้วยความเจริญก้าวหน้าเสมอมา อีกทั้งตระหนักถึงการอบรมสั่งสอนนักเรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในทุกด้านตามศักยภาพความสามารถของตนเอง และหล่อหลอมให้นักเรียนเป็นผลผลิตที่มีนคุณภาพ จนเป็นที่ประจักษ์และยอมรับแก่ชุมชน สังคม และประเทศชาติ สมกับ “กุลสตรี ศรีพระหฤทัย” ตราบกาลนาน